โครงสร้างพื้นฐานทาง IT ในยุคมัลติคลาวด์ (Multi-cloud)

บริษัท อิโตชู เทคโน โซลูชั่น คอร์ปอเรชั่น จำกัด
ผู้แทนผู้จัดการทั่วไป ฝ่ายส่งเสริมธุรกิจผลิตภัณฑ์
ฮิเดมุเนะ อินาโยชิ (Hidemune Inayoshi)

การที่จะใช้ประโยชน์มัลติคลาวด์ให้ได้อย่างเต็มที่จำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงโครงสร้างพื้นฐานใหม่

ในที่สุด มัลติคลาวด์ก็ก้าวเข้าสู่ช่วงของการใช้งานจริงแล้ว
การให้บริการคลาวด์มีลักษณะเฉพาะแตกต่างกันไป หากรวมการให้บริการคลาวด์จำนวนหนึ่งเข้าด้วยกัน และนำลักษณะเด่นของแต่ละอย่างมาใช้ให้ดี จะสามารถสร้างระบบคลาวด์ที่เหมาะสมที่สุดให้กับบริษัทของตนเองได้
มัลติคลาวด์เป็นรากฐานที่ขาดไม่ได้สำหรับ Digital transformation (DX:การปฏิรูปดิจิตอล) ซึ่งสามารถสร้างมูลค่าทางธุรกิจใหม่ โดยใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิตอลใหม่ ๆ ได้
ในทางกลับกัน กลับพบเห็นองค์กรที่เป็นอุปสรรคของ DX อยู่จำนวนมาก เนื่องจากระบบที่มีอยู่ในปัจจุบันกำลังกลายเป็น Black Box (กล่องดำ/กล่องปริศนา) ・ล้าสมัย・ซับซ้อนยิ่งขึ้น ทำให้ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงและไม่สามารถใช้งานข้อมูลแบบผสมผสานทั่วทั้งบริษัทได้ ตามที่กระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรม (Ministry of Economy, Trade and Industry) ประเทศญี่ปุ่นได้ออกเตือนว่าเป็น “หน้าผาของปี 2025” หากไม่สามารถแก้ไขปัญหาเช่นนี้ได้ ก็จะไม่สามารถใช้งานข้อมูลที่เพิ่มจำนวนขึ้นราวกับจะระเบิดออกมาได้ทั้งหมด และกลายเป็นผู้แพ้ในการแข่งขันทางดิจิตอลได้
ดังนั้น สิ่งที่จำเป็นก็คือการเตรียมความพร้อมโครงสร้างพื้นฐานทาง IT ให้สามารถใช้งานมัลติคลาวด์ได้อย่างเต็มที่ และเปลี่ยนแปลงให้เป็นระบบที่เหมาะสมเข้ากับมัลติคลาวด์
“การปรับให้เป็น Cloud Native, Application Modernization เป็นสิ่งจำเป็น นอกจากนี้ ระบบ WAN ก็ต้องดำเนินการ Local Breakout ด้วย” ฮิเดมุเนะ อินาโยชิ (Hidemune Inayoshi)ผู้บรรยาย กล่าวอย่างกระตือรือร้น

ทำให้ SoR สามารถใช้งานได้ไปพร้อมกับโครงสร้างพื้นฐาน SoE

ในลำดับแรก อินาโยชิได้ขีดเส้นแบ่งสถานที่ดำเนินงานระบบ ( Hybrid หรือ Private) กับ การจำแนกประเภทระบบ (SoR หรือ SoE) ออกเป็นสองแกน และเรียบเรียงเงื่อนไขจำเป็นที่ต้องการกับประเภทของระบบ
 SoR (Systems of Record) คือ ระบบหลัก ระบบเดิม (Legacy System) อาทิ ระบบปฏิบัติงาน เป็นต้น
 SoE (Systems of Engagement) คือ ระบบที่เชื่อมโยงผู้ใช้งานและลูกค้าเข้ากับองค์กร โดยต้องรองรับต่อการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและคล่องแคล่ว เนื่องจากความสัมพันธ์กับผู้ใช้งานมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ
อินาโยชิอธิบายว่า “โครงสร้างพื้นฐานทาง IT ได้แก่ SoR กับ SoE จำเป็นต้องมีสิ่งที่เหมาะสมเข้ากันแยกตามแต่ละตัวอย่าง เช่น โครงสร้างพื้นฐานทาง IT ของ SoE ก็ต้องเป็น Cloud Native ซึ่งเป็นโครงสร้างพื้นฐานที่สามารถพัฒนาแอพพลิเคชั่นได้โดย DevOps (การประสานกันของ Development กับ Operations) กับ Microservices ในสภาวะที่การพัฒนา・ทดสอบ・การใช้งานถูกปรับให้เป็นระบบอัตโนมัติและสามารถดำเนินการพัฒนาการบริการเหล่านั้นเป็นพิเศษได้”
 จากมุมมองด้านสถานที่ปฏิบัติงาน มีการลดแรงงานในการควบคุมจัดการและใช้งานฮาร์ดแวร์ รวมถึงทำให้เป็น Public จากผลประโยชน์ด้านการลดต้นทุนได้ในครั้งเดียว อย่างไรก็ตามในปัจจุบันสหรัฐอเมริกามีการดำเนินการกลับสู่ Private (On-premises) และคาดว่าต่อจากนี้ไปลักษณะการใช้งานคลาวด์ก็จะเปลี่ยนแปลงไปอย่างหลากหลายเช่นกัน
 กล่าวได้ว่า รากฐานของโครงสร้างพื้นฐานทาง IT ในยุคสมัยมัลติคลาวด์จะต้องมีทั้งโครงสร้างพื้นฐาน SoE และความสามารถในการใช้กับ SoR และรวมไปถึงความยืดหยุ่นในการเลือก Public/On-Premises ครบทั้งสองอย่างด้วย
และยิ่งระบบมีความยืดหยุ่นสูงและรองรับต่อการเปลี่ยนแปลงได้มากเท่าไร การควบคุมทรัพยากรก็จะเป็นปัญหาที่ต้องดำเนินการแก้ไขมากขึ้นเท่านั้น “Cloud Orchestration” ซึ่งทำให้การควบคุมจัดการการบริการทั้งหมดในคลาวด์ทุกประเภท (Public, Private, Hybrid) เป็นระบบอัตโนมัติจึงนับเป็นเทคโนโลยีที่สำคัญ

Application Modernization, Local Breakout เป็นเทคโนโลยีสำคัญ

 สิ่งที่ต้องทำเพื่อใช้งานมัลติคลาวด์นั้นมีขอบเขตกว้างขวางมาก
 ก่อนอื่นต้องพัฒนา Application Modernization ให้ก้าวหน้าขึ้นสำหรับทั้ง SoEและSoR โดย SoE จะดำเนินการทำให้เป็น Microservices นอกจากนี้ยังเป็นสิ่งสำคัญสำหรับ SoR ในการรักษาและนำ Business Logic กลับมาใช้งานพร้อมทั้งแก้ไขปรับเปลี่ยนแอพพลิเคชั่นในระยะเวลาอันสั้น ขยายหน้าที่การทำงานและปรับโครงสร้างให้เข้าใจได้ง่ายเพื่อให้นักพัฒนารุ่นใหม่สามารถรับช่วงทำงานต่อได้
จะแก้ไขแอพพลิเคชั่นในระยะเวลาอันสั้น ขยายหน้าที่การทำงาน
 การเปลี่ยนแปลงงสภาพแวดล้อมระบบ WANเองก็เป็นสิ่งที่จำเป็น
 เพื่อทำให้การเพิ่มความเร็วในการใช้งานคลาวด์และการปรับให้สายเชื่อมต่อ WAN มีความเหมาะสมที่สุดเป็นจริงขึ้นได้ แทนที่จะใช้วิธีการแบบเดิมในการรวบรวมการเข้าถึงคลาวด์ทั้งหมดไปสู่ Center ภายในบริษัทในครั้งเดียวเช่นเดียวกับที่เคยดำเนินการมา การบริการคลาวด์แบบเฉพาะเจาะจงจำเป็นต้องนำ Local Breakout ที่เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตโดยตรงจากฐานมาใช้งานเพื่อลดภาระปริมาณการรับส่งข้อมูล (Traffic) ของ WAN
หากใช้ SD-WAN (Software-Defined WAN: เทคโนโลยีสร้างเครือข่ายแบบจำลองภาพเสมือนเพื่อควบคุมด้วยซอฟต์แวร์บนเครือข่ายทางกายภาพ) จะสามารถทำให้การใช้งาน Local Breakout มีประสิทธิภาพได้เป็นอย่างดี
 อินาโยชิกล่าวแนะนำกรณีตัวอย่างเชิงล้ำหน้าที่เกิดขึ้นในประเทศฝั่งยุโรปและอเมริกาหลายรายการ
 หนึ่ง คือ กรณีตัวอย่างการนำ VMware Cloud on AWS การให้บริการคลาวด์แบบบูรณาการมาใช้งาน ซึ่งจะทำให้สามารถยกและเปลี่ยน (Lift & Shift) คอมพิวเตอร์เสมือน (Virtual Machine) ใน On-Premise หรือปรับคอมพิวเตอร์เสมือน (Virtual Machine) กลับสู่ On-Premise ได้อย่างง่าย ทำให้สามารถขยายหรือย้าย Data Center ได้ในระยะเวลาอันสั้น จึงช่วยเพิ่มประสิทธิภาพด้านการกู้คืนความเสียหาย (Disaster recovery) ได้อีกด้วย
อีกอย่างหนึ่งคือหัวข้อใหม่ล่าสุดที่สร้างประสิทธิผลกับ Modernization ของโครงสร้างพื้นฐานทาง IT โดยนำ Stratoscale เครื่องมือจำลองภาพเสมือนมาใช้งาน Stratoscale เป็น Software Solution ที่สามารถสร้างสภาพแวดล้อมการแลกเปลี่ยนทดแทน AWS ได้ องค์กรที่นำมาใช้จะพัฒนาแอพพลิเคชั่น Cloud Native ภายใต้ระบบ On-Premises ไปพร้อมกับใช้งาน Hybrid Cloud อย่างมีประสิทธิภาพกว่าปกติ
 “การเลือกใช้มัลติคลาวด์และการรวมเครื่องมือหลากหลายชนิดทั้งในและนอกประเทศมาใช้งานประกอบกันเป็น โซลูชั่นที่สามารถนำเสนอได้เพราะพวกเราคือ CTC ที่เป็น Multi-Vendor แต่ทั้งนี้การดำเนินการเหล่านี้จะให้ทำทั้งหมดในครั้งเดียวนั้นเป็นไปไม่ได้ สิ่งสำคัญคือการเริ่มจากจุดที่เปลี่ยนได้ง่ายและการเริ่มต้นเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องทำ Just Do It! (ต้องทำเท่านั้น!)” อินาโยชิกล่าวเชิญชวนปลุกใจทุกคน